บทสังเกตการณ์

การรั่วไหลของน้ำมันในทะเล






Q&A

Q : จากการสำรวจนี้ทำให้เราพบว่าทิศทางการเคลื่อนตัวยังคงจะไปต่อมั้ยคะ จากแนวของเกาะเสม็ด
A : ครับแน่นอน มันก็คงจะไปต่อแต่ความเข้มข้นมันก็จะลดลงๆตามลำดับ เดี๋ยวเรามาดู กันว่าเหตุการณ์ พฤติกรรมการรั่วไหลของน้ำมันเป็นยังไงมั่ง ก่อนอื่นเราก็ต้องไปดูสภาพอากาศข้างหน้านะครับ คลื่นลมจะเป็นยังไง ภาพนี้เป็นภาพคลื่นลมนะครับ จะเห็นว่าในสัปดาห์นึงไปข้างหน้าเนี่ย ส่วนใหญ่จะมีทิศทางไปในทิศตะวันออกนั่นเป็นความโชคดี
Q: หมายความว่ากระแสลมพุ่งมาทางนี้นะคะอาจารย์
A : ถูกต้อง ก็คือคลื่นก็จะไปอย่างงี้ แต่แถวๆเกาะเสม็ดอยู่แถวๆนี้ นั่นแสดงให้เห็นว่าโอกาสจะเข้าไปเนี่ยมันก็ค่อนข้างจะยาก ในเมื่อคลื่นลมไปอย่างนี้จะเห็นว่านี่เรามาเจาะอ่าวพร้าวเลย อ่าวพร้าวเนี่ยอย่าลืมว่าตัวสีเข้มนี่คือน้ำลึก ตรงนี้คือน้ำตื้น เมื่อคลื่นลมมาปะทะ คลื่นก็จะเกิดการเลี้ยวเบนมาอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจะนำเอาน้ำมันหลักมากองอยู่ตรงนี้
Q : ก็คือที่เราเห็นเป็นสีดำหนักๆ
A : และน้ำมันเบาก็อยู่ตรงบน เราก็ไปสำรวจ โดยแบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน ส่วนที่เป็นหาดหิน หาดทราย หาดหิน
Q : ที่สีแดงนี่ก็คือหาดหินนะคะ
A : ถูกต้องครับ และเราก็พบว่าหาดหินเนี่ยแน่นอนเต็มไปด้วยน้ำมัน เรียกได้ว่าโดย ส่วนใหญเนี่ยก็จะเหมือนยางมะตอยเลย ติดเลย
Q : ปกคลุมเลยไม่หลุด
A : ทีนี้หาดทรายเนี่ย เราก็เจาะทรายดูนะครับ ตั้งแต่ทางบน ล่างลงมา ก็พบว่าความ หนาของน้ำมันที่ซึมซับลงไปในทรายเนี่ยนะครับ เพิ่มขึ้นตามลำดับ 
Q : ที่เรานำไม้บรรทัดไปวัดด้วยน่ะนะคะอาจารย์
A : ถูกต้องครับ จากประมาณ 1 เซน ถึง 1.5 เซน มา 2 เซน แล้วก็มา 3 เซน นั่นหมาย ถึงว่าน้ำมันหนักก็จะมากองอยู่ทางนี้ เพราะฉะนั้นก็คือประเด็นว่าการทำความสะอาดมันก็เป็นปัญหาเหมือนกันเพราะว่าน้ำมันหนักมากองทางนี้ เพราะงั้นการเอาเข้าเอาออกมันก็เป็นปัญหา โดยเฉพาะโขดหินมันทำความสะอาดยากมาก
Q : การทำความสะอาดให้สะอาดนี้นะคะ สามารถเสร็จสิ้นภายใน 2-3 วันได้มั้ยคะอาจารย์
A : เป็นไปไม่ได้เลยนะครับ เพราะว่าปริมาณที่คำนวณดูเนี่ย ตอนนี้กำลังสงสัยอยู่ว่าเป็น 50,000 ลิตรหรือเปล่า เพราะว่าเราคำนวณปริมาณที่ค้างอยู่เนี่ยตกๆประมาณ 1 แสนลิตร ละทีนี้พอน้ำมันไปอยู่ในน้ำมันก็จะเอาออกยากนะครับ
Q : ทีนี้การกระจายตัวของคราบน้ำมันเนี่ยค่ะ จากที่อ่าวพร้าว เกาะเสม็ด สามารถกระจายไปที่ไหนได้บ้างคะอาจารย์
A : มาดูภาพนี้ เราก็ใช้แบบจำลองคาดการณ์การกระจายตัวของน้ำมันนะครับ สีแดงนี้ เป็นจุดที่เริ่มเกิดการรั่วไหลนะครับ แล้วก็กลายเป็นสีเหลืองคือความเข้มข้นค่อยๆลดลง เพราะงั้นนี่คือบ้านเพ ก็มาหาดสวนสน แหลมแม่พิมพ์ จะเห็นว่าในที่สุดประมาณวันที่ 5 ที่ 6 ฟิล์มเหล่านั้นก็จะไปปะทะบริเวณหาดแม่พิมพ์รอยต่อจันทบุรี เป็นฟิล์มบางๆนะครับ น้อยอยู่ 0.1 มิลลิเมตร
Q : ฟิล์มบางๆนี่จะเป็นลักษณะแตกต่างจากคราบน้ำมันที่เราเห็นจากเกาะเสม็ดยังไงคะ
A : ความหนาของชั้นฟิล์มจะน้อยกว่า 0.1 มิลลิเมตรนะครับ ก็คือน้อยมาก เค้าเรียกว่า เป็นฟิล์มบางเป็นลักษณะอย่างนั้น
Q : แล้วผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชายหาดบริเวณนั้นล่ะคะ ถ้าฟิล์มไปถึงจริงๆ
A : ครับแน่นอน ฟิล์มเหล่านี้มันจะสลายตัวไปตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้นนานวันไปมันก็ จะสลายไปเอง แต่ว่าถ้าเป็นคราบน้ำมันจริงๆดำๆเนี่ย ตัวนี้อันตราย แต่ว่าโชคดีอย่างที่ผมบอกนะครับ ถูกสกัดไว้โดยตัวเกาะเอง
Q : งั้นแสดงว่าฟิล์มบางส่วนอาจจะเข้าไปถึงในบริเวณหาดเหล่านี้ของระยองและจันทบุรีได้นะคะ
A  : ไปถึงแน่ครับ ดูจากภาพนี้คือไปถึงแน่ เพราะภาพนี้เป็นภาพที่ในกรณีที่ไม่มีการสกัดต่างๆ



ดาริน คล่องอักขระ
อ.เสรี ศุภราทิตย์   


เพิ่มเติม* 





นักวิทย์คิดให้ ตอน จุลินทรีย์ช่วยกำจัดคราบน้ำมันได้อย่างไร



เวทีสาธารณะ : ฟื้นอ่าวระยอง 2 ปีหลังน้ำมันรั่ว (7 ส.ค. 58)



BP Oil Spill Effect on Wildlife



 






















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น